ปัญหาการเป็นเจ้าของแบรนด์

Untitled-3-01

อยากทำธุรกิจ อยากมีแบรนด์เป็นของตัวเองแค่คิดก็ไม่ใช่เรื่องง่ายแล้ว ไม่รู้ต้องเริ่มต้นยังไง อย่างแรกต้องแต่คิดว่าจะขายอะไรก่อน สินค้านั้นจะตีตลาดตอบโจทย์ลูกค้า เป็นที่ยอมรับหรือไม่ และทำการตลาดที่หนักหน่วง หากผ่านมาจนได้เป็นเจ้าของแบรนด์อย่างเต็มตัวใช่ว่าจะหมดปัญหา

ปัญหาอะไรบ้างหละที่เจ้าของแบรนด์จะต้องเจอ และจะมีวิธีรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร เป็นเรื่องที่เราต้องทำการเรียนรู้และศึกษาเพื่อความมั่นคงและเชื่อมั่นในตัวแบรนด์สินค้าที่เราสร้างขึ้นมาเองกับมือไว้

รู้จักสินค้าของตัวเองไม่ดีพอปัญหานี้เกิดจากความประมาทของเจ้าของแบรนด์ที่คิดที่จะทำอะไรรวดเร็วจนเกิดไป หากมีกำลังเงินที่จะผลิตสินค้าอย่างเดียวเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเพียงพอ ต้องทำการศึกษาสินค้าของตัวเองเป็นอย่างดี ทดลองใช้แล้วว่ามันดีสำหรับผู้ผลิโภค จะทำให้เราพูดได้อย่างเต็มปากว่าของเรานั้นดีจริงๆ ตามมาติดๆ กับปัญหาคู่แข่งเยอะคู่แข่งก๊อบปี้สินค้า ทำไปทำมาสินค้าของเรามีผลประกอบการที่ดี กระแสมาแรง จนทำให้มีสินค้าที่เหมือนของเราขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นสรรพคุณ หรือ คอนเซ็ปเหมือนกันรวมทั้งตัวกล่อง เป็นเหตุที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ แต่แน่นอนเราสามารถป้องกันได้โดยการจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

ปัญหาของตัวแทนที่เกิดขึ้นในระบบตัวแทนจำหน่าย คือการที่ตัวแทนขายสินค้าไม่ได้ เป็นเรื่องที่เราต้องจัดการทำอะไรหลายๆ อย่างเพื่อเป็นการกระตุ้นตัวแทนจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดอบรมให้ความรู้เพื่อให้ตัวแทนเข้าใจถึงสินค้าอย่างแท้จริง การจัดโปรโมรชั่นระบายสินเมื่อเมื่อสต๊อคล้น แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยเจ้าของแบรนด์ของขยันที่จะทำการตลาด ทำอย่างไรถึงจะปัง มีอีกหนึ่งกรณีจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแทนรายใหญ่ของเราขายดีมากๆ และสามารถสร้างฐานลูกค้าให้เป็นของตัวเองได้ ก็ทำให้โลภอยากได้กำไรที่มากขึ้นก็เลยหนีเราไปเปิดแบรนด์เป็นของตัวเองแน่นอนเหตุการณ์นี้ทำให้ลูกค้าของเราหายแน่นอน

ปัญหาสุดปวดหัวไม่ได้หมดแค่นี้ เมื่อตัวแทนอยากจะเลิกขายอยากระบายสินค้าเร็วๆ ก็ทำให้เกิดการตัดราคากันเอง ลดราคาลง จากเรทราคาที่เราตั้งไว้ ถ้าเกิดเหตุการเช่นนี้ขึ้นระบบตัวแทนจำหน่ายของเราจะวุ่นวายสุดๆ จนตัวแทนรายอื่นต้องออกมาโวยวายทางเจ้าของแบรนด์ควรมีนโยบายกำหนดบริษัทให้แน่ชัดให้กับตัวแทน เพื่อความยุติธรรมของตัวแทนทั้งหมด